Search
Enter Keywords:
อาทิตย์, 19 พฤษภาคม 2024
Home
คูลบล็อก-วัสดุก่อผนังเพื่อการประหยัด
Image
สุดยอดนวัตกรรมวัสดุก่อผนัง เพื่อการประหยัดพลังงาน ป้องกันความร้อน นวัตกรรมล่าสุดของอิฐก่อผนังที่แพร่หลายในยุโรป ผลิตจากซีเมนต์ปอร์ตแลนด์สอดไส้ฉนวนโพลีสไตรีน (Expanded Polystyrene) เกรดพิเศษไม่ลามไฟ (Flame Retardant) ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการต้านทานความร้อน มีอัตราการดูดซึมน้ำน้อยกว่าวัสดุก่อผนังทั่วไป ประหยัดค่าเครื่องปรับอากาศ ไม่เปลืองค่าไฟ ลดปัญหาเชื้อราผนัง เหมาะสำหรับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยซึ่งเป็นเมืองร้อนและมีความชื้นสูง

ฉนวนโพลีสไตรีน (Expanded Polystyrene / EPS) จัดอยู่ในประเภท Organic Cellular Material ซึ่งเป้นเนื้อวัสดุ Polystyrene เพียง 2% ที่ห่อหุ้มอากาศอยู่ถึง 98% จึงไม่เป็นพิษ มีน้ำหนักเบาและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะไม่มีสาร CFC’s และสามารถ Recycle ได้ อีกทั้งฉนวนโพลีสไตรีนที่ใช้เป็นชนิดพิเศษซึ่งไม่ลามไฟ เพื่อความปลอดภัยนั่นเอง

EPS หรือ Expanded Polystyrene คือพลาสติกโฟมที่ให้ก๊าซ Pentane (C5H12) ซึ่งเป็นตระกูลเดียวกับก๊าซหุงต้มหรือ Butane (C4H10) เป็นสารที่ทำให้ขยายตัว (Blowing Agent) เมื่อนำมาผลิตเป็นฉนวนโพลีสไตรีน ก๊าซ Pentane ที่อยู่ในเม็ดวัตถุดิบจะขยายตัวเมื่อได้รับความร้อนจากไอน้ำ (Steam) ดันให้เนื้อพลาสติกฟูออกกลายเป็นเม็ดโฟมขาวๆ จากนั้นแล้วจึงนำไปอัดขึ้นรูปเป็นไส้ฉนวนโพลีสไตรีนที่อยู่ในอิฐ Cool Block โดยทั่วไปฉนวนโพลีสไตรีนจะขยายตัวประมาณ 50 เท่า และเมื่อขยายตัวแล้วจะมีอากาศเข้ามาแทนที่ถึง 98% ของปริมาตร จึงทำให้มีน้ำหนักเบาเมื่อเทียบกับขนาด ด้วยคุณลักษณะนี้เอง ทำให้ฉนวนโพลีสไตรีน (EPS) สามารถรองรับแรงกระแทก และเป็นฉนวนกันความร้อนได้เป็นอย่างดี สัดส่วนการใช้พลาสติกโฟมโพลีสไตรีนในต่างประเทศโดยเฉพาะในยุโรปและในอเมริกา นั้น อาจจะแบ่งแยกออกเป็น 2 ลักษณะ กล่าวคือ ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์ 20% และในอุตสาหกรรมก่อสร้าง 80% ในขณะที่การใช้พลาสติกโฟมโพลีสไตรีนในประเทศไทยและในเอเชียกลับมีสัดส่วนตรง กันข้าม แต่ได้ขยายตัวมากขึ้นกว่าแต่ก่อนอย่างเห็นได้ชัด

เพราะคุณสมบัติของโพลีสไตรีนดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงได้มีผู้ที่พยายามคิดค้นและพัฒนาเพื่อที่จะนำคุณสมบัติดังกล่าวมาใช้ให้เ กิดประโยชน์สูงสุด ในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่ใช้ฉนวนโพลีสไตรีนนั้นมีมากมาย อาทิ น อาคาร หรือที่อยู่อาศัย ห้องเย็น โรงงานอุตสาหกรรม โกดังโรงสีข้าว คอสะพาน ฯลฯ ซึ่งรูปแบบการก่อสร้างโดยใช้ฉนวนโพลีสไตรีนนั้นก็มีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับการออกแบบโดยวิศวกรหรือสถาปนิก เพื่อกำหนดเป็นสเปกให้ช่างก่อสร้างติดตั้ง โดยอาจจะทำเป้นการก่ออิฐมอญชั้นหนึ่งก่อนแล้วปิดทับผนังด้วยฉนวนโพลีสไตรีน จากนั้นจึงก่ออิฐมอญอีกชั้นหนึ่งทับอีกทีแล้วจึงฉาบทับ ซึ่งการทำงานแบบนี้ใช้เวลานานมากและเสียค่าใช้จ่ายสูง จึงมีผู้คิดค้นการทำงานให้ง่ายขึ้นโดยการใช้โครงลวดเหล็กเสียบแผ่นฉนวนโพลีส ไตรีนไว้ตรงกลาง แล้วนำไปติดตั้งเป็นผนังที่ต้องการ หลังจากนั้นจึงใช้ปูนฉาบทับโครงลวดเหล็กนั้นทั้ง 2 ด้าน หรืออาจจะใช้เครื่องซีเมนต์พ่นแล้วฉาบแทน ซึ่งแน่นอนว่าค่อนข้างจะยุ่งยากหลายขั้นตอนและต้องใช้ปูนฉาบมาก เสียค่าใช้จ่ายสูง อีกทั้งช่างก็ไม่คุ้นเคย วิธีต่อมาก็คือทำเป็นผนังสำเร็จรูปแล้วนำมาติดตั้งซึ่งต้องใช้อุปกรณ์ เช่น รถยก เพราะแผ่นผนังสำเร็จรูปจะมีน้ำหนักมาก ราคาแพง และการติดตั้งก็ต้องใช้ช่างที่มีความชำนาญสูง มีเครื่องไม้เครื่องมือครบ จึงจะสามารถทำให้งานออกมาเรียบร้อย ดังนั้นเพื่อให้ได้มาซึ่งผนังที่มีฉนวนโพลีสไตรีน โดยให้มีการทำงานที่ง่ายขึ้น สามารถใช้ช่างทั่วไปทำงานได้ และไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมืออะไรเป็นพิเศษให้ยุ่งยา ก จึงมีผู้ที่นำเทคโนโลยีการผลิต ซึ่งเป็นนวัตกรรมล่าสุดจากยุโรปมาใช้ในการผลิตวัสดุก่อผนังที่มีชื่อเรียกว่ า คูลบล็อก (Cool Block) ซึ่งเป็นการตอบโจทย์ข้างต้นได้อย่างครบครัน

Image


คูลบล็อก (Cool Block) เป็นนวัตกรรมล่าสุดของวัสดุก่อผนังที่แพร่หลายในยุโรป ผลิตจากซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ สอดไส้ฉนวนโพลีสไตรีน (Expanded Polystyrene / EPS) ชนิดพิเศษ ไม่ลามไฟ (Flame Retardant) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการต้านทานความร้อนได้ดีที่สุด เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทศไทย เพราะประเทศไทยเป็นเมืองร้อน มีความชื้นสูง และมีฝนตกชุก ด้วยอัตราการนำความร้อน (Thermal Conductivity) ต่ำสุดเพียง 0.03 W/m.K และมีอัตราการซึมน้ำน้อยกว่า 5% อาคารบ้านเรือนที่สร้างด้วยคูลบล็อก (Cool Block) จึงเย็นสบายกว่าอาคารบ้านเรือนทั่วไป และยังช่วยลดปัญหาการกะเทาะร่อนของสีผนัง และปัญหาเชื้อราที่เกิดจากความชื้น ซึ่งเป็นตัวสำคัญที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้


Image




ที่มาของข้อมูล
นิตยสาร Gear ปีที่ 2 ฉบับที่ 1 (มกราคม 2549)
เขียนโดย คุณจิตติศักดิ์ สุขบุญรัตน์
ข้อมูลเพิ่มเติม www.coolblock.co.th

?>